Personal OKRs เคล็ดลับการตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ New Year’s Resolutions ของเราเป็นจริง

เชื่อว่าเราเกือบทุกคนน่าจะเคยเขียน New Year’s Resolutionsอยู่บ้าง และก็เชื่อว่าพวกเราหรือคนส่วนใหญ่พบว่า เป้าหมายที่เขียนไว้นั้น มันแทบจะไม่เคยประสบความเร็จเลย

บทความนี้จะมาแชร์วิธีการใช้ Personal OKRs โดยนำแนวคิด OKRs ที่นิยมใช้ในองค์กร มาใช้กับการตั้งเป้าหมายส่วนตัว เพื่อมาช่วยทำให้ New Year’s Resolution ของเรบรรลุเป้าหมายได้มากกว่าเดิม

ทำไมการเขียน New Year’s Resolution ถึงไม่ค่อยเวิร์ค?

การเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ตอนต้นปี ล้วนทำให้เราตื่นเต้น (ได้เริ่มต้นใหม่สักที!) แต่พอเวลาผ่านไปไม่ถึง 1 เดือน เป้าหมายที่เขียนไว้นั้นก็ดูเหมือนจะเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว รู้ตัวอีกทีก็สิ้นปีซะแล้ว!

เรามักจะตั้งเป้าหมายใหญ่บิ๊กเบิ้ม โดยคิดว่า “มีเวลาเป็นปี ต้องทำได้สิ!” ถ้าเราไม่ใช่คนที่มี Discipline หรือมีวินัยในตัวเองอย่างเข้มข้นมาแต่ไหนแต่ไร เราก็คงจะเริ่มจับไต๋ตัวเองได้แล้วว่า ไอ้เจ้าความคิดที่ว่า “มีเวลาเป็นปีๆ” นั้นมัน Optimistic เกินไปมาก!

และแม้ว่าเราจะมีเวลาเหลือเฟือ แต่พอหันไปมองเป้าหมายที่แสนจะยิ่งใหญ่ทีไร แทนที่จะมีกำลังใจ เรามักจะรู้สึกว่า “ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน” ก็เลย “เอาไว้ก่อนแล้วกัน” เมื่อไม่เห็น Progress ก็ยิ่งท้อ แล้วก็ล้มเลิกไปตั้งแต่ยังไม่ทันพ้น Q1 ด้วยซ้ำ

นี่คือจุดอ่อนของการตั้งเป้าหมายโดยปราศจากการแตกเป้าหมายใหญ่ที่ว่านั้นให้เป็นเป้าหมายย่อยๆ เพื่อให้สามารถ Take Action ได้จริง

อ่านบทความ แนะนำวิธีการตั้งเป้าหมายให้ชีวิต ฉบับลงมือทำได้จริง

OKRs คืออะไร?

OKRs เป็นวิธีในการตั้งเป้าหมายในองค์กร โดย Google ส่วนตัวแล้วเริ่มรู้จัก OKRs ก็จากการที่ Partner ที่แม็กนีโต้แล็บส์ เอา OKRs มาเสนอให้ใช้กับบริษัทตั้งแต่เมื่อปลายปี 2017 จนเกิดเป็นไอเดียในการนำเอา OKRs มาปรับใช้กับการตั้งเป้าหมายส่วนตัว

OKRs = Objective and Key Results

Objective คือเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ซึ่งเป้าหมายที่ตั้ง ควรจะทะเยอทะยาน (เว่อๆ หน่อยๆ ทำจริงได้ แต่ยาก), เป็นเป้าหมายเชิงคุณภาพ ที่เราให้ความสำคัญในชีวิตจริงๆ, และเรามีไอเดียในการวางแผนให้ลงมือทำได้จริง โดย Objective ที่ตั้งไว้รายปี ไม่ควรมีเกิน 3-4 Objectives เพื่อให้เรา Focus ได้

Key Results คือสิ่งที่เราจะทำ ที่จะทำให้เราบรรลุ Objective ที่เราตั้งเอาไว้ Key Results เปรียบเหมือน Action Plan ที่มีปริมาณกำกับ เพื่อให้เรานำมาคำนวนเพื่อวัดผลได้

ตัวอย่างการตั้ง Personal OKRs

Step 1: ตั้ง Objective (O)

“พัฒนาตัวเองเพื่อให้ทำธุรกิจได้ดีขึ้น”

Step 2: กำหนด Key Results (KRs)

  1. อ่านหนังสือ 52 เล่ม
  2. เรียนคอร์สที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจ 6 คอร์ส
  3. เรียนคอร์สที่เกี่ยวกับ soft-skill 6 คอร์ส

Step 3: วัดผล และ Review

การวัดผล Personal OKRs

การวัดผล OKRs นั้นคิดโดยนำเอา “เลขที่ทำได้” มาหารกับ “เป้าหมายที่วางไว้” เช่น ตั้ง Key Result ไว้ว่าจะอ่านหนังสือ 52 เล่ม จบปีอ่านได้ 32 เล่ม ก็จะได้ค่า 32/52 = 0.62

ซึ่งค่าที่ได้ออกมาจะอยู่ในช่วงระหว่าง 0 – 1 หากได้ค่าอยู่ที่ 0.6-0.8 ถือว่าโอเคผ่าน หากได้มากกว่า 0.9-1 จะถือว่าเราตั้งเป้าหมายต่ำเกินไป (ครั้งหน้าต้องท้าทายตัวเองมากกว่านี้) และหากได้น้อยกว่า 0.6 ถือว่าสอบตก

สำหรับค่า Scale ที่จะกำหนดว่าอันไหนผ่าน อันไหนตกนั้น จริงๆ ไม่ได้เป็นกฏตายตัว เราสามารถปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม และเหมาะกับตัวเองได้เลย (ก็นี่เป็น Personal OKRs นี่นะ)

การ Review ติดตามผล

เมื่อจบไตรมาส เราจะมีการ Review เพื่อดูผลลัพธ์ OKRs หากจบ 3 เดือนแล้วพบว่าสิ่งที่ทำมาไม่เวิร์คแฮะ ในโลกแห่งความเป็นจริง เราก็ควรจะปรับแผน หาวิธีการใหม่ๆ เพื่อที่จะไปถึงยังเป้าหมายที่วางไว้ให้ได้ในไตรมาสต่อไป

ตัวอย่างการเขียน Personal OKRs
ตัวอย่างการเขียน Personal OKRs

3 องค์ประกอบของ OKRs ที่นำมาประยุกต์ใช้กับ Personal OKRs

1. การวัดผลโดยใช้ตัวเลข

การใช้ Scale ในการวัดว่าเราทำเป้าหมายสำเร็จหรือไม่โดยใช้หลักการวัดของ OKRs จะช่วยทำให้มาประเมินผลเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมเราตัดสินว่าอะไรสำเร็จหรือไม่สำเร็จ โดยดูจากว่าทำได้ครบถ้วนสมบูรณ์ไหม เช่น ตั้งเป้าอ่านหนังสือ 52 เล่ม แต่ทำจริงได้ 32 เล่ม ถ้าเป็น New Year’s Resolution แบบเดิม เราจะถือว่าข้อนี้สอบตก แต่หากวัดในมุม OKRs แล้วเราตั้งว่า ถ้าได้ 0.6 ขึ้นไป ถือว่าโอเค Key Result ของเราข้อนี้ก็ถือว่าสำเร็จ

ในเชิงจิตวิทยา การวัดผลเช่นนี้ทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้น เพราะผลที่ได้จะไม่ได้มีแค่ สำเร็จ กับ ล้มเหลว แต่มันมีระหว่างทางที่เราได้ลงมือทำ พัฒนา หากคราวนี้ทำได้แค่ 60% อย่างน้อยก็เดินมาเกินครึ่ง สิ่งที่ควรทำคือการ Reflect คิดหาวิธีที่จะเดินไปให้ถึง 80% ไม่ใช่ท้อจนเลิกทำ

2. แตกเป้าหมายย่อยลงมาเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ทำได้จริง

ในการตั้ง OKRs เราจะตั้งแบบทั้งปี (คล้ายกับ New Year’s Resolutions) แต่จุดที่ต่างก็คือเราจะมีการแตก OKRs ออกมาเป็นราย Quarter เพื่อวัดผล รีวิว และมาตั้ง OKRs ใน Quarter ถัดไป

โดยที่ในแต่ละ Quarter จะมีการแตก OKRs ออกมาเป็นรายเดือน และรายสัปดาห์ ย่อยลงไปอีกเพื่อให้เราเขียน Key Results ที่ “ลงมือทำได้จริง” และพร้อมจะปรับในรอบถัดไปหากสิ่งที่ทำไม่เวิร์ค

3. การทำ Review, Reflect, Plan

การทำ Reivew ของ Personal OKRs ไม่ควรทำแค่ราย 3 เดือน แต่ควรจะย่อยมาเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ ให้ล้อกับเป้าหมายที่วางเอาไว้ในข้อด้านบน

โดยในแต่ละครั้งที่ Review ให้ดูว่า รอบที่ผ่านมาตั้งเป้าอะไรเอาไว้ อะไรสำเร็จ อะไรไม่สำเร็จ (Review) เพราะเหตุใด (Reflect) เพื่อให้ปรับแผนในรอบถัดไปได้ดีขึ้น (Plan)

เทคนิคที่ช่วยทำให้ Personal OKRs ใช้งานได้จริง

1. ลำดับความสำคัญ

แน่นอนว่าในชีวิตของคนเรา มันมีหลายเรื่องที่เราต้องดูแลให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องสุขภาพ เรื่องเงิน เรื่องความสัมพันธ์ทั้งกับครอบครัว เพื่อน และคนรัก ซึ่งโดยส่วนตัวจะไม่ตั้งไว้เกิน 3 หัวข้อ เพราะเวลาให้ความสำคัญหลายอย่าง ก็ยิ่งยากที่จะบรรลุเป้าหมายทั้งหมด

2. มีนัดกับตัวเอง

สิ่งที่ทำแล้วค่อนข้างเวิร์ค คือ “การมีนัดกับตัวเอง”

ในทุกสุดสัปดาห์เราจะมียิงนัดกับตัวเองเพื่อทำ Weekly Review เมื่อรู้แล้วว่าสัปดาห์ต่อไปมีเป้าหมายอะไรบ้าง ก็ให้จองเวลากับตัวเองในสัปดาห์ถัดไปลง Calendar เพื่อให้มั่นใจว่า สิ่งที่คิด กับเวลาที่มี มันสัมพันธ์กันไหม?

จากประสบการณ์ การวางแผนล่วงหน้าช่วยให้ทำสิ่งนั้นสำเร็จมากขึ้นหลายเท่าตัว เช่น การลงตารางว่าวันนี้จะไปวิ่งตอนเย็น 7pm-8pm จะเขียนบล็อก ตอน 6am-7am เป็นต้น

3. ทำให้ Personal OKRs สามารถมองเห็นได้ง่ายทุกวัน!

แม้ว่าจะวางแผนมาเป็นดิบดี แต่สิ่งที่มักทำให้เราตกม้าตายก็เป็นเพราะ เป้าหมาย หรือ OKRs นั้น “Invisible” เห็นครั้งแรกตอนเขียน อีกครั้งตอน Review สิ้น Quarter บางทีหนักกว่านั้นคือเห็นตอนสิ้นปีเลย

การทำให้เป้าหมายนั้นมองเห็นได้ทุกวัน เข้าถึงง่าย แก้ไขง่าย ทำให้เรา stay on track มากขึ้น

แนะนำให้เอา OKRs ของเราใส่ App ที่เปิดดูได้ทั้งจากเว็บ คอมพิวเตอร์ มือถือ (Apple Note, Evernote, Google Note หรือถ้าบางคนชอบแบบออฟไลน์ ก็สามารถเขียนบนกระดาษแปะที่บ้าน ในห้องนอน หน้าประตู หน้ากระจกที่เราต้องผ่านตาทุกวัน ก็น่าจะเวิร์คดีเช่นเดียวกัน

สรุป

การทำ Personal OKRs ควบคู่กับ New Year’s Resolution นั้นจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร มันก็คือการตั้งเป้าหมายแบบ SMART, วางแผน, รีวิว, ปรับแผน ประเด็นสำคัญคือการ Stay on Track ไม่ใช่ตั้งเป้าเสร็จแล้วลืม เจอกันอีกทีตอนสิ้นปี

สุดท้าย สิ่งที่บอกกับตัวเองช่วงหลังๆ ก็คือ ไม่ว่าเราจะตั้งเป้าอะไรไว้ การ Stick to the Plan นั้นเป็นเรื่องดี (ถ้าทำได้ควรให้รางวัลตัวเอง) แต่อย่างไรก็ตาม คนเรานั้นผิดพลาดได้ อย่าให้ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นมาทำให้เราท้อถอย สำคัญคือต้องรู้ตัวว่าทำพลาดในส่วนไหน  นำคือบทเรียน เพื่อให้เราสามารถพัฒนาและทำมันให้ดีขึ้นในครั้งถัดไป

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับคุณให้สามารถตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตัวเองโดยไม่ต้องรอขึ้นปีใหม่นะคะ :)

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

Save