ทำไม Designer จึงควรจะต้องศึกษาการเขียนโปรแกรม

เคยได้ยินฝรั่งเค้ามักจะพูดกันว่า

“Designer who can code is a unicorn”

แปลกันแบบซื่อๆ ก็คือดีไซน์เนอร์ที่โค้ดได้นั้น หาได้ยากยิ่งนัก เอ๊า! ก็ไอ้เจ้าตัว unicon นั้นมันเดินอยู่ตามท้องถนนซะที่ไหน หากคุณได้พบได้เจอ อย่าได้ปล่อยให้หลุดมือไปเชียวล่ะ!

แหม๊ ฟังดูการได้อัพเกรดเป็น unicon นั้นมันดูดีไม่เบาแฮะ เพราะหันซ้ายแลขวาในเมืองไทยบ้านเรานั้น การจะหาดีไซน์ที่โค้ดได้นั้นก็ยากจริงๆ แต่เชื่อสิว่า เมื่อไหร่ที่คุณ (ซึ่งเป็นดีไซนเนอร์) โค้ดได้ คราวนี้ล่ะงานเข้าไม่หยุดหย่อน และการออกแบบของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่นจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

เริ่มสนใจอยากเป็น unicon กันแล้วรึยังล่ะทีนี้

แล้วเป็น unicon มันดียังไง?

ได้เปรียบ ทั้งในแง่ของการหางาน และการทำงานจริงๆ คือ เมื่อคุณบอกว่าคุณเป็นดีไซน์เนอร์ที่โค้ดได้ด้วย จะทำให้คุณโดดเด่นออกมาจากคนอื่นทันที เพราะว่าดีไซน์เนอร์ที่โค้ดได้ คุยกับ develper รู้เรื่องนั้นไม่ได้มีอยู่เยอะ อีกทั้งเวลาทำงานจริง จะทำให้การทำงานลื่นไหลมากขึ้น เพราะอะไร เพราะคุณคุยกับ developer รู้เรื่อง รู้ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ รู้ข้อจำกัด รู้ความเป็นไปได้ในการสร้างงานจริง

แล้วทำไมดีไซน์เนอร์ส่วนใหญ่จึงโค้ดไม่ได้?

ไม่แปลกหากคุณจะโค้ดไม่ได้ ดีไซน์เนอร์โดยปกติถูกเทรนด์มาให้ใช้สมองซีกขวามากกว่าซีกซ้าย การจะให้ไปใช้สมองซีกซ้ายเยอะๆ อย่างคนที่เป็น programmer / developer / engineer เค้าใช้กันนั้นก็ค่อนข้างจะฝืนธรรมชาติและวิถีการใช้ชีวิตไปหน่อย บางคนถึงกับบอกว่า “แค่นี้ตอนบิลมาแล้วต้องหารค่าอาหารกับเพื่อนก็มึนแล้วจ้า อย่าให้ไปคำนวนอะไรโน่นนี่เลย ขอร้อง!”

ทำไมต้องรู้ในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด หรืออาจจะไม่ได้ใช้?

  • คุณคิดว่า สถาปนิก ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นคนสร้างบ้านด้วยมือตัวเอง ต้องเรียนรู้พื้นฐานการก่อสร้างมั้ย?
  • คุณคิดว่า นักออกแบบสิ่งพิมพ์ หรือกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบนามบัตร หรือแมกกาซีน ต้องรู้ขั้นตอนการพิมพ์มั้ย?
  • คุณคิดว่า แม่ครัว ควรจะสนใจมั้ยว่าวัตถุดิบแต่ละอย่างแตกต่างกันอย่างไร แม้กระทั่งมีกระบวนการผลิตอย่างไร?
  • คุณคิดว่า คุณหมอ ผู้เอาแต่เขียนตัวหนังสือขยุกขยุยในใบสั่งให้เภสัชจ่ายยา รู้สรรพคุณของยาสำคัญแต่ละชนิดมั้ย?
  • คุณคิดว่า นักออกแบบรถยนต์ ต้องศึกษาเรื่องวิศวกรรมยานยนต์ หรือไม่?

ไม่ต่างกัน หากคุณจะออกแบบเว็บไซต์ซักหนึ่งเว็บ แต่คุณไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเว็บมันถูกสร้างขึ้นมายังไง มันก็ยากจริงมั้ย?

การที่สถาปนิก รู้วิธีการก่ออิฐ เพื่อไปช่วยช่างก่อสร้างก่ออิฐในไซต์ก่อสร้างหรือเปล่า?

ไม่ใช่เลย จริงอยู่ที่ว่าทุกวันนี้ เว็บไซต์แทบที่จะทำได้ทุกอย่างแล้ว ฟอนท์ก็มีให้ใช้มากมาย แสงเงาไล่สี อยากจะวาง element อะไรตรงไหนก็ได้ แทบจะไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป การที่เรารู้ว่าสิ่งที่เรากำลังออกแบบมันทำงานอย่างไร มันช่วยทำให้เราเห็นภาพรวม และเข้าใจว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ดีไซน์เนอร์ที่รู้โค้ดดิ้ง ยังได้เปรียบตรงที่จะสามารถคุยกับโปรแกรมเมอร์ได้ง่ายขึ้น รู้เรื่องขึ้น เรียกว่าพูดจาภาษาเดียวกันมากขึ้นว่างั้น

แล้วต้องรู้มากแค่ไหน ถึงจะพอ ต้องสร้างเว็บอย่าง Facebook ได้มั้ย?

ไม่ต้องขนาดนั้น หากคุณเป็นเว็บดีไซน์เนอร์ สิ่งที่ใกล้กับ photoshop ที่สุดเห็นจะเป็นภาษาที่ใช้สร้าง Layout สวยงามที่คุณออกแบบไว้ ไปเป็นหน้าเว็บไซต์ ก็คือ HTML/CSS หน้าถ้าจะไปไกลกว่านั้นอีกหน่อยสำหรับคนที่อยากทำอะไรที่ dynamic ได้ก็ไปต่อที่ Java Script และ jQuery อาจจะไม่ต้องเขียนได้คล่องแคล่ว แค่เอาว่ารู้ว่าไอเดียมันทำงานยังไง แล้วก็เอาไปคุยกับ Programmer ต่อได้ แค่ก็เป็นต่อแล้ว

แล้วจะเริ่มที่ตัวไหนดี สมัยนี้มีให้เลือกเยอะไปหมด?

แนะนำให้เริ่มจากศึกษา HTML และ CSS แล้วตามด้วย Java Script สำหรับคนที่เป็น web designer

HTML กับ CSS เป็นการเริ่มต้นเขียนโปรแกรมที่ดี เพราะมี Learning Curve ที่ต่ำมาก ไม่ต้องมีการติดตั้งโปรแกรมเสริมอะไรมากนัก เขียนบรรทัดนึง เห็นผลทันที รับรองได้ เมื่อคุณลองลงมือหัดแล้ว คุณจะต้องภูมิใจกับตัวเองไม่ใช่น้อย ว่าเห้ย ฉันเป็นดีไซน์เนอร์ แต่ก็รู้นะว่าไอ้ตรงนี้ตรงนั้น มันปรับได้ อย่ามาหลอกกันให้ยากนะจ๊ะ

ใครอยากลองศึกษา ไม่ต้องไปลงคอร์สแพงๆให้ยุ่งยาก บนอินเตอร์เน็ตมีทั้งของฟรีที่ดีมากๆ กับของเสียเงินเล็กๆน้อยๆ ที่ดีสุดๆ ที่แนะนำมีดังนี้

codeacademy ฟรี/เสียเงิน

เว็บนี้เรียกได้ว่าสร้างขึ้นมาสำหรับมือใหม่จริงๆ ถ้าคุณสนใจ แค่สมัครสมาชิก เลือกหัวข้อที่สนใจ แล้วเริ่มได้เลย ไม่ต้องลงโปรแกรมอะไรด้วยซ้ำ เพราะตัวเว็บมี text editor ที่พิมพ์ปุ๊บเห็นผลปั๊บเอาไว้ให้เสร็จเรียบร้อย ให้ 100 ดาวไปเลย

Lynda.com ทดลองเรียนได้ 7 วัน หลังจากนั้นเสียเงินเป็นรายเดือน

เว็บนี้เรียกว่ามี course ที่เกี่ยวกับคนทำเว็บเยอะมากๆ แถมยังมีให้เลือกให้ตั้งแต่ beginner ไปจนถึง advance หลักสูตรถูกออกแบบมาค่อนข้างดี เรียกว่าใครที่ไม่มีพื้นฐานด้านโปรแกรมมิ่งเลย มาเรียนคอร์สเริ่มต้นที่นี่น่าจะได้พื้นฐานไปต่อยอดได้อีกเยอะ หลักสูตรที่แนะนำสำหรับมือใหม่สุดๆ คือ Web Design Fundamentals

เว็บอื่นๆ ที่เคยเรียนแล้วเห็นว่าโอเค

Code School

Tuts+

treehouse

สำหรับใครที่สนใจสร้าง Software as a Service (SASS) ด้วย Ruby on Rails ลองเรียนจากสองที่นี้ดู

One Month Rails

BaseRails

ปิดท้าย

อยากจะบอกว่า หากคุณเป็นที่สนุกกับการสร้างโน่นสร้างนี่ ชอบปั้นดินน้ำมัน หรือชอบเรียนวิชาประดิษฐ์เมื่อตอนเด็กๆ การที่คุณเขียนอะไรขึ้นมาหนึ่งตัวแล้วเห็นมันใช้ได้จริง มันเป็นความสนุกจริงๆ (ตราบใดที่มันไม่ได้ซับซ้อนมากๆ หรือเป็น app ขนาดใหญ่ๆ นะ อันนั้นขอเขียน wireframe วาง layout กับ ui แล้วส่งต่อให้พี่ dev เทพๆ เค้าจัดการดีกว่า)

Happy coding & Let’s make things!

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

Save