Four Thousand Weeks รีวิว: ความจริง ความหมาย และการใช้ชีวิตที่มีอยู่แค่ปัจจุบัน

มันอาจจะเป็นเรื่องบังเอิญ ที่โบได้อ่านหนังสือ Four Thousand Weeks: Time Management for Mortal เล่มนี้ ตอนอายุ 37 ปี ซึ่งก็คือเกือบครึ่งหนึ่งของอายุเฉลี่ยของมนุษย์ยุคปัจจุบันที่ 75 ปี หรือ 4,000 weeks พอดิบพอดี

หนังสือเล่มนี้ ทำให้ได้คิดอยู่ตลอดเวลาทั้งตอนที่อ่าน และหลังจากอ่านจบว่า

ชีวิตอีก 2,000 weeks ที่เหลือ (หรืออาจจะไม่ถึง) เราจะใช้มันต่อไปยังไงดี?

หนังสือ Four Thousand Weeks เปิดเรื่องมาด้วยความจริงที่ว่า

“สุดท้าย เราทุกคนต้องตาย”

…และเราจะไม่มีทางทำสิ่งที่เราคิดว่าจะทำได้หมด

เราจะทำยังไงให้เวลา 4,000 weeks ในชั่วชีวิตอันสั้นนักของเรานี้มันมีความหมาย?

เวลา 4,000 weeks ของเราบนโลกใบนี้ เทียบกับอารยธรรมมนุษย์ก็ถือว่าจิ๊บจ๊อยมากแล้ว ถ้ายิ่งไปเทียบกับการกำเนิดจักรวาล เราก็เป็นแค่อนูที่แทบมองไม่เห็น; เหมือนเป็นแค่ฝุ่นผงที่ไม่ได้ matter อะไรเลย…

สิ่งที่เราอยากทำ อยากเป็น อยากได้ อยากมี ทั้งที่จับต้องได้ และไม่ได้

มันไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดใน life time เรา ด้วยเวลาชีวิตเราที่มีอย่างจำกัดนี่ล่ะ

แล้วจะทำยังไง? ต้อง give up on life อย่างนั้นหรอ?

หรือมาแนวใช้ชีวิตให้เต็มที่ มีแรงเท่าไหน มีเงินเท่าไหร่ ใช้มันให้หมดวันนี้สิ? เพราะเดี๋ยวก็จะไม่ได้ใช้แล้วนี่

แม้หนังสือจะมีการพูดย้ำๆ เรื่องที่ว่าเวลาของพวกเรานั้นมีจำกัด ไม่ได้ยาวนักอย่างที่คิด และจะจบลงเมื่อไหร่ก็ได้

ความยากมันดันอยู่ที่คำว่า “เราไม่รู้จริงๆ ว่ามันจะจบลงเมื่อไหร่แน่?”

การจะใช้แนวคิดสุดโต่งที่ว่า งั้นเราใช้ชีวิตสนุกให้สุดเหวี่ยง ใช้เงินให้หมด ไม่น่าจะใช้วิธี

เพราะเราก็รู้ว่า ถ้าใช้หมดแล้วยังไม่ตาย ชีวิตก็น่าจะลำบาก พังได้ง่ายๆ

“เราจะเตรียมตัวยังไงให้พร้อมรับกับชีวิตที่มีจุดจบ แต่ไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไหร่นี้”

เราจะทำยังไงให้ทุกวันของเรามันมีความหมาย—ไม่ใช่มีความหมายในแบบที่คนรอบข้างมอง ไม่ใช่มีความหมายในแบบที่สังคมกำหนดมา—แต่มีความหมายกับตัวเรา มีความหมายกับคนที่เรารัก และมีความหมายกับสิ่งที่เราให้ความสำคัญ

เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นการที่ทำให้ผู้อ่านสามารถตอบคำถามที่ว่า

“ถ้าเวลาของเราหมดลงวันนี้ เราจะเสียใจมั้ย?” ได้อย่างมั่นใจ

และนี่คือ 4 ขั้นตอน การจัดการเวลา ที่สรุปได้จากหนังสือ Four Thousand Weeks:

1. เข้าใจและยอมรับ

ขั้นตอนแรกคือเราต้องยอมรับก่อนว่า

  • เวลาของชีวิตเรามีไม่มากขนาดนั้นหรอก และอาจจะจบลงเมื่อไหร่ก็ได้
  • เราไม่ได้สลักสำคัญอะไรมากนักในจักรวาลอันกว้างใหญ่นี้
  • เราไม่มีทางทำสิ่งที่อยู่ใน bucket list ของเราได้หมด

แม้จะฟังดูสิ้นหวังหน่อยๆ กับความจริงด้านบน

แต่หากลองคิดดีๆ ถ้าชีวิตเราไม่มีจุดจบ เราสามารถทำทุกอย่างที่อยากทำได้ ชีวิตเราก็คงจะไม่ได้มีความหมายอะไรเลย

ในทางกลับกัน “การที่เราต้องเลือก” นี่ล่ะคือเสน่ห์อย่างนึงของชีวิต

2. เลือกสิ่งที่มีความหมาย

เพราะว่าชีวิตเรานั้นมันมีเวลาจำกัด การหาวิธีที่จะทำให้เยอะที่สุดนั้นคงไม่ตอบโจทย์ เพราะสิ่งที่เราอยากทำจริงๆ มันอาจจะอยู่ท้ายๆ แล้วเราก็ดันหมดเวลาไปซะก่อนที่จะได้ทำสิ่งนั้น

  • ใครที่เคยดองค้างงานโปรเจกต์นั้นโน้นนี้เอาไว้เยอะ จะรู้ซึ้งถึงความกังวลใจ อะไรที่มันค้างไว้มานานแล้ว ยังไม่เสร็จ ให้ลิสต์ออกมาและตัดสิ่งที่ไม่ได้อยากทำแล้วออก แล้วเอาที่เหลือมาเรียงตามลำดับความสำคัญ (สำหรับเรา)
  • ไม่ใช่แค่ say no กับสิ่งที่เราไม่ชอบ แต่ต้อง say no กับสิ่งที่เราชอบ เพื่อให้เราได้ทำสิ่งที่เราชอบมากกว่า (และต้องไม่รู้สึกผิดกับการไม่ทำนั้นด้วยนะ)
  • พอรู้แล้วอะไรคือสิ่งที่ meaningful ที่สุดสำหรับเรา การจะทำให้มั่นใจว่าเราจะได้ทำสิ่งที่มีควาหมายนั้นแน่ๆ ก็คือการทำมันวันนี้นี่ล่ะ!

3. มองให้เห็นความจริง

เรามักจะโทษเทคโนโลยี โทษสิ่งรอบตัว แต่จริงๆ แล้ว คนที่เอา distraction เข้ามาก็คือตัวเราเอง และวิธีการจัดการกับ distraction ที่ยั่งยืนไม่ใช่การปิด notification แต่คือการมองให้เห็นว่าทุกอย่างมันก็เป็นของมันแบบนี้แหล่ะ มีน่าเบื่อ มีดี มีใช่ ไม่ใช่

  • ระบบ productivity ของเรามันไม่มีวันที่จะสมบูรณ์ ไม่ว่าเราจะลอง app ใหม่อีกกี่แอป—เราก็ใช้สิ่งที่มีนี่ล่ะที่ทำงานได้โอเคอยู่แล้ว
  • โต๊ะทำงาน บ้าน รถ อยู่ไปใช้ไปยังไงมันก็ต้องรก สกปรก—เราก็แค่ต้องจัดไปทุกวันนั่นแหล่ะ
  • คู่ชีวิตเราก็เป็นคนคนหนึ่งที่ไม่ได้สมบูรณ์ จะไปสู้อะไรกับคนในจินตนาการณ์ของเราที่ไม่มีอยู่จริง—เขาก็ยังอยู่กับเราที่ไม่ได้สมบูรณ์ได้เหมือนกัน

ถ้าคิดได้ว่า “เออ มันก็เป็นของมันแบบนี้” เราจะหยุดคาดหวังให้สิ่งนี้ เป็นสิ่งนั้น ให้คนนี้ดีขึ้น ให้ทุกอย่างที่เป็นอยู่กลายเป็นอย่างอื่น

เมื่อไหร่ที่เราตัวเองออกจากบ่วงของคำว่า “ชีวิตที่ดี” ในความหมายที่ใครก็ไม่รู้เป็นคนกำหนด เราจะปลดปล่อยตัวเองจากความกังวลทั้งหลายที่ผูกเราเอาไว้กับอนาคตที่ไม่แน่นอน และจะไม่ไปแสวงหา distraction เข้ามาสู่ตัวเอง

4. อยู่กับปัจจุบัน

เราเชื่อว่าความหมายของชีวิตน่าจะอยู่ไม่ที่ใดที่หนึ่งในอนาคต แต่จริงๆ แล้วชีวิตปัจจุบันนี่ล่ะคือความหมายที่เราจะมีได้จริงๆ

การที่เราจะใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันได้ คือการระลึกได้ว่าจริงๆ แล้วเราไม่ได้มี option อื่นอีกแล้วนอกจากปัจจุบัน

และการอยู่ตรงนี้นี่ล่ะ คือสิ่งเดียวที่เราทำได้จริงๆ

ถ้าเรารู้ว่าการไปเที่ยว การนั่งกินข้าวกับพ่อแม่ การนั่งดูซีรีย์กับแฟนคืนนี้ จะเป็นครั้งสุดท้าย

  • เราดูซีรีย์ไป เล่นโทรศัพท์ไปอยู่ไหม?
  • เราจะเถียงแม่ฉอดๆ บอกให้แม่หยุดบ่นซักที ไหม?
  • เราจะถ่ายรูปก่อนที่เราจะมองสถานที่นั้นด้วยตาเปล่าหรือเปล่า?

…ถ้ารู้ว่าทุกอย่างคือครั้งสุดท้าย เราจะยังฝากความหมายเหล่านี้ไว้กับอนาคต…อยู่อีกไหม?

เราคือผลรวมของเวลาที่เราได้ใช้ไป ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในอนาคต

หากใครคาดหวังว่าหนังสือ Four Thousand Weeks เล่มนี้จะสอนให้เราทำทุกอย่างที่เราอยากทำให้สำเร็จในชั่ว life time ของเราได้ คงจะต้องผิดหวัง

เพราะหนังสือเล่มนี้ไม่ได้บอกให้เราเอาเป็นเอาตายกับเวลาที่มีอันน้อยนิด

กลับกัน, หนังสือเล่มนี้พูดย้ำๆ ให้เรา “เลือก” เลือกทำ เลือกใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดของเราให้มีความสุข และมีความหมาย

มีความสุข และมีความหมาย—สำหรับตัวเราเอง สำหรับคนที่เรารัก และสิ่งที่สำคัญกับเราจริงๆ

แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ทุกสถานการณ์ หากคุณกำลังอยู่ในวัยเริ่มต้นทำงาน เพิ่งเรียนจบ การเปิดโอกาสให้ตัวเองพบกับประสบการณ์ให้มากที่สุดอาจะเป็น strategy ที่ดี

แต่หากว่าใครกำลังพบตัวอย่างอยู่ในช่วง mid-life crisis กำลังจะพบเจอกับความเปลี่ยนแปลง กำลังเกิดความสงสัยในชีวิต

กำลังเกิดคำถามว่า “เอาไงต่อดี?” โบอยากแนะนำให้ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ดูค่ะ :)

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

Save