เทคนิคการฟัง Podcast แบบเวิร์กๆ: ฟังยังไงให้ทันและ Productive?

ช่วงนี้กระแสการฟัง Podcast ในไทยฮิตมากเหลือเกิน ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ใครๆ ก็ทำ Podcast คนเริ่มฟัง Podcast กันมากขึ้น ขยายไปในวงกว้างขึ้น มีรายการไทยเยอะมาก เรียกว่า Podcast กำลังเข้าสู่ยุค Mass ในไทยแล้ว

ส่วนตัวรู้จักกับการฟัง Podcast มาได้ประมาณ 10 ปี ตั้งแต่เรียนจบใหม่ๆ สมัยเมื่อตอนทำงานที่แรกแล้วต้องเดินทางวันละ 2-3 ชั่วโมง เลยเริ่มฟัง Podcast ระหว่างที่นั่งรถตู้ไปกลับจากที่ทำงาน (อือหือ รู้เลยว่าอยู่บ้านนอก)

เป้าหมายหลักของการฟัง Podcastในตอนนั้นคือเพื่อฝึกภาษาอังกฤษ เราก็ไปเจอรายการสอนภาษาเยอะมาก ตื่นตาตื่นใจสุดๆ แต่ดูไปดูมามันไม่ได้มีแค่ Podcast สอนภาษา แต่มีรายการแทบจะทุกหมวดที่เราสนใจให้เลือก จำได้เลยว่ารายการแรกๆ ที่ฟังแล้วติดคือ The Smart Passive Income ของ คุณ Patt Flynn ซึ่งพูดเกี่ยวกับการทำ Internet Marketing, Online Business

ทำให้รู้สึกว่า Podcast มันเจ๋งมาก เพราะเราได้ทั้งความรู้เรื่องที่เราสนใจและได้ฝึกภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กัน ตอนนั้นเนี่ยอยากจะบอกให้ใครต่อใครมาลองฟัง Podcast แต่พอบอกเพื่อนไปว่า “มาฟัง Podcast กัน มันดีมากเลยนะ” ทุกคนก็งง ไม่มีใครเก็ตเลย (มีเจ้านายเก่าคนนึงที่เข้าใจเพราะเนิร์ดหนักกว่าเรา; พูดให้ถูกต้องก็คือพี่คนนี้เป็นแรงบันดาลใจในด้านความเนิร์ดให้เรามาจนทุกวันนี้)

เทคนิคการฟัง Podcast ให้เวิร์ก

แต่ทุกวันนี้การฟัง Podcast ไม่ได้ถือเป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใดในเมืองไทย ออกจะเข้ายุคผลิบานของ Podcast ซะด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอแต่รายการ Podcast เยอะแยะไปหมด Challenge ที่หลายๆ คนน่าจะกำลังเจอในการฟัง Podcast ทุกวันนี้ก็คือ

“Podcast ที่อยากฟังมีเยอะเหลือเกิน จะฟังยังไงให้ทัน?”

หรือคำถามที่สำคัญกว่านั้นก็คือ

“เราจะฟัง Podcast ยังไง ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด?”

บทความนี้จึงอยากจะแชร์วิธีการฟัง Podcast แบบเวิร์กๆ ทำยังไงให้เราได้ประโยชน์จากการฟัง Podcast กันอย่างเต็มที่กันค่ะ

1. ถามตัวเองว่าอยากได้อะไรจากการฟัง Podcast

ด้วยความที่ podcast มีรายการใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ถ้าเราไม่กำหนดเป้าหมายว่าเราอยากได้อะไรจากการฟังแล้วล่ะก็ เชื่อถือว่าเราก็จะ subscribe รายการโน้นนี้นั้นเต็มไปหมด รู้ตัวอีกทีก็คือ subscribe ไปหลายสิบรายการจนฟังไม่หวาดไม่ไหว

ลองถามตัวเองดูว่าอยากได้อะไรจากการฟัง Podcast ซึ่งสามารถมีได้หลายข้อนะ แต่แนะนำว่าไม่ควรมีเกิน 3 ไม่งั้นจะเยอะไปแล้วทำให้เราหลุด Focus ได้

ยกตัวอย่างเช่น

เป้าหมาย 1: อยากเรียนภาษาอังกฤษ => เน้นเรื่องการพูด เน้นเรื่อง Grammar

เป้าหมาย 2: อยากเรียน Marketing => การอัปเดตวิธีการทำ marketing รวมถึงเครื่องมือใหม่ๆ ที่คนอื่นเค้านำมาใช้กัน

เป้าหมาย 3: อยากหาวิธีใหม่ๆ ในการทำให้ Productive => การวางแผนการทำงาน การบริหารเวลาทั้งเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว

2. จัดลำดับความสำคัญ เลือกเฉพาะ Podcast ที่เราอยากฟังจริงๆ

เนื่องจากเราจะ Podcast นั้นเป็นของฟรี เราจึงจะตื่นตาตื่นใจกับรายการมากมายที่มีให้เราเลือก Subscribe คนฟัง Podcast ส่วนใหญ่จะพบปัญหา Podcast บวม คือซับ มันเยอะไปหมด แต่สุดท้ายก็คือฟังไม่ทัน

วิธีการในการฟัง Podcast ให้ทันที่อยากแนะนำก็คือ ให้ลอง Review รายการที่ได้ Subscribe อยู่ปัจจุบัน หากรายการไหนที่ subscribe ไว้ แต่ไม่ได้ฟังมานานแล้วก็ควร unsubscribe ไปก่อน ให้เหลือแต่รายการที่เราอยากฟังจริงๆ

อย่าลืมย้อนกลับไปที่เป้าหมายในข้อ “1. คุณอยากได้อะไรจากการฟัง Podcast” จะช่วยให้คุณเลือก Podcast ที่ตรงกับเป้าหมายเรามากขึ้นค่ะ

3. กำหนดเวลาฟัง Podcast

สำหรับคนที่รู้สึกว่ามี Podcast ให้ฟังเยอะ จนฟังไม่ทัน และชอบฟัง Podcast มากจนไม่อยากจะทำอย่างอื่น อาจจะลองใช้การฟัง Podcast มากระตุ้นให้คุณทำพฤติกรรมดีๆ หรือใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นเทคนิคที่เรียกว่า Habit Stacking จากหนังสือ Atomic Habits

ตัวอย่าง Habit Stacking

“ถ้าเราล้างจาน เราจะได้ฟัง Podcast”

“ถ้าเราวิ่ง หรือออกกำลังกาย เราจะได้ฟัง Podcast”

“ทุกครั้งที่เดินทาง เราจะได้ฟัง Podcast”

หาก Podcast ที่คุณชอบฟังเป็นรายการที่ไม่ต้องใช้สมาธิในการฟังมาก ลองหาสิ่งที่คุณไม่ค่อยอยากทำ แต่ควรทำ เพื่อมาประกบคู่กับสิ่งที่เราชอบทำอย่างการฟัง Podcast ดู การทำแบบนี้จะทำให้เราได้ทำทั้งสิ่งที่มีประโยชน์ และสิ่งที่เราอยากทำไปพร้อมๆ กัน

4. สร้าง Playlist Podcast ฉบับ Active Learner

เวลาฟังเพลง เรายังมี Playlist ของเพลงที่เราชอบ จะอกหัก ผิดหวัง roadtrip หรือมะจังย้อนยุค แล้วทำไมเราไม่สร้าง Playlist ของ Podcast เอาไว้ฟังตามช่วงเวลา หรือความสนใจบ้างล่ะ?

วิธีการสร้าง playlist นั้นไม่ต่างจากการสร้าง playlist ฟังเพลง แอปฟัง podcast ส่วนใหญ่ล้วนมี feature นี้อยู่แล้ว โดย Playlist แรกที่ควรมีก็คือ To Listen Playlist นี้สำคัญมากๆ และควรจะเป็นที่แรกที่คุณเข้ามาเพื่อฟัง ไม่ใช่ในช่องรายการใดรายการหนึ่ง เพราะมันคือที่รวม ep ที่คุณอยากฟังมาไว้ที่นี่แล้ว อย่าให้การฟัง Podcast เหมือนการเปิด TV วิทยุแล้วฟังไปเรื่อยๆ แบบปล่อยผ่านไปเรื่อยๆ

หากคุณยังคิด Playlist ไม่ออก ก็อาจจะเริ่มด้วย Playlist ง่ายๆ อย่างเช่นTo Listen Playlist

  • To Listen: อะไรที่ชอบๆ ก็เอามากองๆ ไว้ที่นี่ก่อน
  • Listen once a month (สำหรับใส่ ep ที่เราชอบมากและคิดว่าควรฟังซ้ำบ่อยๆ)
  • Listen in the morning
  • Listen before bed
  • etc. etc. etc.

หรือจะแบ่งหมวดหมู่ตามหัวข้อเนื้อหาที่คุณสนใจก็ได้ เช่น Productivity, Marketing, Design เป็นต้น

5. เลือก App สำหรับฟัง Podcast ให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

แม้ว่าเราจะเลือกมาแล้วว่าเราอยากจะ Focus ฟัง Podcast เรื่องอะไร แต่เวลาของเราก็ยังจำกัดอยู่ดี ฉะนั้นการเลือก Podcast App จึงมีความสำคัญ เพราะ App ฟัง Podcast ที่ดี จะช่วยให้คุณฟัง Podcast ได้เร็วมีประสิทธิภาพขึ้น!

ด้านล่างนี้คือ Checklist Features ของแอปฟัง Podcast ที่ควรมีค่ะ

– สามารถเพิ่ม/ลด Speed

วิธีการที่โบใช้บ่อยก็คือการเร่ง Speed ความเร็ว อันนี้แล้วแต่รายการ ถ้าเป็นรายการไทย เราฟังง่ายอยู่แล้ว ปกติจะเร่งไปที่ 1.5x – 2.0x ได้เลย หากเป็นรายการภาษาอังกฤษ ก็แล้วแต่ อาจจะเร่งได้อยู่ที่ 1.2x-1.5x แล้วแต่ความยากง่ายของภาษาของรายการนั้นๆ

– สามารถตัดเสียง Silence (optional)

หากการเร่ง Speed ยังไม่หนำใจ อาจจะลองใช้ Feature อย่าง Trim Silence ซึ่งจะช่วยตัดช่องเวลาที่ไม่มีคนพูดออก ทำให้ฟังได้เร็วขึ้นไปอีก แต่ส่วนตัวพบว่าการตัดจังหวะเสียงเงียบทำให้ฟังจับใจความเนื้อหาได้ยากขึ้น เพราะเหมือนจังหวะของภาษาการพูดมันเปลี่ยนไป

– สามารถตั้งค่าวินาทีในการ Forward/Backward

สิ่งนี้ใช้สำหรับการ skip ช่วงเปิดและปิดรายการ ซึ่งปกติจะพูดซ้ำๆ บางรายการมีโฆษณา หรือมีพูดเกริ่นยาวๆ ถ้าเรารีบเราก็สามารถที่จะ Forward รายการให้เข้าไปสู่เนื้อหาได้เร็วขึ้น รวมถึงพอรายการจบ เราก็ไม่ต้องฟังจนจบจริงๆ ก็ได้ skip ไปฟัง EP อื่นไปเลย สำหรับการ backward (ฟังย้อน) อาจจะไม่ต้องตั้งเวลาเยอะมาก ส่วนมากจะใช้เวลาที่เราสติหลุดไปฟังไม่ทัน ก็มีประโยชน์มาก

สามารถสร้าง Playlist ได้

การสร้าง Playlist ช่วยให้เราแบ่งหมวดหมู่ จัดเก็บ Podcast ที่เราอยากฟังได้อย่างเป็นระบบระเบียบและลดการฟังแบบ Passive ได้เยอะดังที่กล่าวไว้ในข้อ 4

แอปฟัง Podcast แนะนำ

  • Castbox – iOS, Android – Free, Premium
  • Google Podcast – iOS, Android – Free
  • Apple Podcast – iOS, Android – Free
  • Overcast – iOS, Android – Free, Premium

สำหรับ Spotify อันนี้ส่วนตัวไม่ค่อยแนะนำในการฟัง Podcast เลย เพราะขาดฟีเจอร์สำคัญๆ สำหรับ Podcast ไปเยอะ อีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่เชียร์ Spotify ก็เพราะว่าการแยกเครื่องมือระหว่าง Entertain/Relaxation กับ Productivity จะช่วยทำให้เรารู้ว่าเมื่อไหร่ที่เปิด Spotify แปลว่าเรากำลังพักผ่อนอยู่นะ ส่วนเมื่อไหร่ที่ใช้แอป Podcast ก็คือจะเป็นโหมดพัฒนาตัวเอง (การจัด Environment ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก)

สรุป

Podcast เป็นช่องทางในการเรียนรู้ที่ดีช่องทางหนึ่งที่ไม่ได้ใช้แรงเยอะเท่าการฟัง Audiobook การอ่านหนังสือ เรียนคอร์ส แต่ก็อย่าลืมว่าการฟัง Podcast เป็นการเรียนรู้ที่ค่อนข้าง Passive คือรายการที่เรา subscribe เขาจะทำ content แบบไหนมา เราก็ฟังไปเรื่อย บางทีไม่ได้คิดว่าเอ๊ะ เราสนใจ EP นี้จริงๆ หรือเปล่า?

ความตั้งใจของบทความนี้จึงอยากจะทำให้การฟัง Podcast กลายเป็นช่องทางการเรียนรู้ที่เป็นแบบ Active Learning มากขึ้น โดยการจัดลำดับความสำคัญ การแบ่งเวลา การเลือกใช้แอปที่เหมาะสม รวมถึงการใช้งาน Feature ของแอปที่จะมาช่วยให้เราฟัง Podcast ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ และหากคุณมีเทคนิคการฟัง Podcast อื่นๆ ที่น่าสนใจก็สามารถแชร์มาเพิ่มได้ใน comment เลยค่ะ :)

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

Save