อย่าเพิ่งไปคิดที่จะ Creative หากเรานั้นยังไร้ซึ่งประสบการณ์

ความคิดสร้างสรรค์” หรือ “ความ Creative” เป็นสิ่งที่สอนกันได้จริงหรือเปล่า?

แล้วคำแนะนำที่ว่าให้ออกไปเที่ยว ไปหาความรู้ใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งรอบตัวนั้น คือวิธีการที่เวิร์คจริงหรือไม่?

บทความนี้เราจะมาคุยเรื่องนี้กัน

เคยมีคำถามไหมคะ?

ทำไมบางคนถึงเสนอไอเดียออกมาได้ดี ทำงานออกมาได้ถูกทิศถูกทาง สามารถพัฒนาต่อได้

ในขณะที่บางคนพยายามเป็นอย่างมากที่จะสร้างความแตกต่าง โดยการคิดค้นหาวิธีทำสิ่งที่ (เจ้าตัวคิดว่า) สุดแสนจะ creative แปลกใหม่ แต่ผลลัพธ์มันกลับออกมาเป็นตรงกันข้ามแบบไปคนละทิศคนละทาง?

จึงไปลอง Research คำว่า “How to be creative” รวมถึง keywords ใกล้เคียงอื่นๆ

พบว่ากลุ่มคำเหล่านี้ ถูกค้นหารวมๆ แล้วหลายหมื่นครั้งต่อเดือน

และมีแนวโน้ม (Search Trend) ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา

Search Volume คำว่า how to be creative

Search Volume คำว่า creative thinking

Search Volume คำว่า be creative

ซึ่งน่าจะสะท้อนให้เห็นว่า “ความคิดสร้างสรรค์” หรือ “Creativity” เป็นคุณสมบัติที่คนทำงานไม่น้อยสนใจจะพัฒนา เพื่อที่จะได้ชื่อว่า “ฉันเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์” หรือมีคนมาบอกว่า “โห เธอนี่โคตร creative เลย” เรียกว่าเพื่อนก็ทึ่ง เจ้านายก็รัก เพราะมีไอเดีย มี input ใหม่ๆ (ที่เป็นประโยชน์) ในการทำงานให้กับทีมอยู่เสมอ

“แล้วเราจะพัฒนาคนให้มีความคิดสร้างสรรค์ แบบถูกทิศทางได้อย่างไร?”

คนส่วนใหญ่เวลาพูดถึงเรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ก็มักพูดถึงการตามหาเก็บรวบรวมวัตถุดิบให้กับสมอง การเรียนรู้แบบกว้างๆ ในหลายๆ เรื่อง ไม่เฉพาะแต่เรื่องราวที่เราสนใจ ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลย (และหนึ่งในวิธีการเพิ่ม input ก็คือการสังเกต ที่เคยเขียนในบทความ ฝึกคิดอย่างดีไซน์เนอร์)

แต่คำถามก็คือ เราขาด “ความรู้แบบกว้างๆ” ที่ว่านี้จริงหรือ?

เพราะคนส่วนใหญ่ก็ชอบไปท่องเที่ยว มีความสนใจหลายอย่าง และได้เรียนรู้เรื่องนั้นโน้นนี้จากการดู Netflix (การดูหนัง ดู series ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆ มากมาย) หรือติดตามข่าวสารจาก Twitter

แต่ในโลกของการทำงาน พวกเขาเหล่านั้นบางคนกลับไม่สามารถที่จะคิดค้นหาไอเดีย หรือมองเห็นว่าจะพัฒนาวิธีการทำงานของตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร

ซึ่งนี่คือสิ่งพวกเราคิดว่ามันต้องมีคำตอบสิ และส่วนตัวค่อนข้างมั่นใจว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความรู้ไม่กว้างพอ แต่ก็ยังหาข้อสรุปออกมาที่มันชัดๆ ไม่ได้ซักที

จนมีอยู่วันหนึ่ง ได้มีโอกาสไปนั่งคุยกับพี่ชาล CEO ของ Hubba Thailand ผู้ซึ่งเปรียบเสมือน Mentor ส่วนตัว ก็คุยกันสัพเพเหระตามเรื่องกันเกือบ 3 ชั่วโมง

จนวนมาถึงเรื่อง Creativity พี่ชาลเปิดสไลด์ที่ใช้ Coaching เหล่า Startups ให้ดู

และนั่นก็คือสไลด์ 2 หน้าที่อธิบายถึงกระบวนการสร้าง Creative Idea ได้ดีที่สุดอันหนึ่งที่เราเคยได้ยินกันมา

คำถาม: ทำอย่างไรให้เกิด Creative Idea?

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่า Creativity = Relevance + Novelty

การที่ไอเดียจะ Creative ได้นั้นจะต้อง “เกี่ยวข้อง” และ “ใหม่” ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ถือว่า Creative

หากไอเดียไฉไลใหม่เอี่ยมสุดๆ แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะแก้ปัญหาก็ไม่มีประโยชน์

หรือถ้าไอเดียนั้นมีแต่ Relevance มันก็คือของเดิมๆ ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ใดๆ

Creative = Relevance + Novelty
Credit: Charle Charoenphan

รูปด้านบนนี้อธิบายได้ว่า ในช่วงแรกๆ สิ่งที่เราคิดเราทำมันไม่มีทางที่จะ Creative มากเท่าไหร่หรอก ฉะนั้นอย่าเพิ่งโวยวายว่าไม่เอาไม่อยากทำเพราะมันน่าเบื่อ มันเดิมๆ แต่ให้ Focus ที่ความเกี่ยวข้อง หรือ Relevance คือต้องทำแล้วไม่ไปผิดทิศผิดทาง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่โอเคอย่างมากในช่วงนี้ จวบจนเราทำมันมานานพอ มากพอ เมื่อนั้น เราจะเริ่มมีความสามารถที่จะทำสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ได้เรื่อยๆ เรียกว่าเริ่มเกิด Novelty โดยที่ยังมีความ Relevance เป็นพื้นฐานอยู่ เมื่อนั้นแปลว่าเราถึงจะได้ของใหม่ที่มีประโยชน์มาใช้งานที่เกิดจาก Creativity

สไลด์นี้ว่าดีแล้ว สไลด์ถัดไปก็คือเด็ดกว่า

When you want to have creativity but you have no experience, most of the time, it will fuck up.

“หากคุณอยากที่จะมี Creativity แต่ยังไร้ซึ่งประสบการณ์ ก็อย่าไปคาดหวังว่าเลยว่าสิ่งที่คุณทำนั้นมันจะออกมาดี”

สิ่งที่ข้อความ เจ็บๆ คันๆ แต่ตรงชะมัดด้านบนพยายามบอกกับเราก็คือ ก่อนที่เราจะสร้างสรรค์แนวทางอะไรที่มันแปลกใหม่ได้นั้น เราจะต้องมีประสบการณ์เสียก่อน

ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ประสบการณ์ที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงการออกไปท่องโลก เดินชมเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อซึมซับประสบการณ์อย่างที่ตำราว่าด้วยเรื่อง Creativity เขียนเอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนเข้าใจกัน

แต่หมายถึง “ประสบการณ์ตรงที่ได้จากการลงมือทำ” ในเรื่องนั้นๆ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ด้วยแนวทางและวิธีการตั้งแต่เริ่มต้นพื้นฐาน ในรูปแบบที่เขาสอนๆ กันมา กระทั่งเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี จนทำให้เกิดความสามารถที่จะพลิกแพลง ปรุงแต่งความรู้พื้นฐานโดยการไปผนวกเข้ากับ Input หรือความรู้เรื่องอื่นที่เราได้สะสมเอาไว้ก่อนหน้า และทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ในที่สุด

ซึ่งเรื่องนี้ฟังดูแล้วก็น่าจะไปพ้องกับเรื่องการเป็น T-shaped persons ซึ่งเป็นการเอาตัวอักษร T มาใช้เปรียบเปรยคุณสมบัติของคนในการทำงาน โดย Wikipedia ให้คำนิยามของ T-shaped persons ดังนี้

I-shaped VS Generalist VS T-shaped
I-shaped VS Generalist VS T-shaped

เส้นตั้งของตัว T แทนถึงความลึกของความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ถือเป็นอาชีพหลักของคุณ เช่น ถ้าคุณเป็นนักเขียน ก็ควรจะมีความรู้พื้นฐานเรื่องการเขียนที่แน่น รู้ลึกเรื่องวิธีการเขียน การใช้ภาษา เทคนิคการเขียนต่างๆ เป็นต้น

ส่วนเส้นนอนที่เป็นบาร์ด้านบนของ T แทนถึงความลึกของความรู้ความสามารถของศาสตร์อื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานของคุณโดยตรง ซึ่งควรที่จะมีหลายเรื่อง แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ลึกมากก็ได้

สรุปก็คือ คนที่เป็น T-shape Person คือคนที่รู้ลึกรู้จริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เขายึดถือเป็นอาชีพเป็นอย่างดี และก็ยังมีความรู้ในด้านอื่นๆ อย่างหลากหลายแบบที่อาจจะไม่ต้องลงลึก แต่สามารถประยุกต์ใช้ได้อยู่ด้วยเช่นกัน

ฉะนั้น วิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ หรือพัฒนาความรู้ ในรูปแบบที่มีแต่ส่วนบาร์ด้านบนของตัว T จึงไม่เพียงพอในโลกของการทำงาน เราจะต้องมีเส้นตั้งของตัว T ด้วย จึงจะทำให้เราสามารถที่จะทำงานออกมาได้อย่างดี

การฝึกความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นเราเป็นคนแบบ T-shaped Persons แบบ Creative

  1. ศึกษาเรียนรู้หลักการพื้นฐานของเรื่องนั้นๆ ให้ได้มากที่สุด – และลงมือทำตาม
  2. ศึกษาเรียนรู้เรื่องนั้นๆ จากสิ่งที่คนอื่นเคยทำมาแล้ว – และลงมือทำตาม
  3. ศึกษาเรียนรู้สิ่งที่ได้จากการลงมือทำในข้อ 1 และ 2 – แล้วลงมือทำในแบบของตัวเอง
  4. ลองเอาสิ่งที่รู้ทั้งหมดมาเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในด้านอื่นๆ – แล้วทดลองทำขึ้นมาในหลายๆ แนวทาง
  5. ประเมินผลสิ่งที่ทำด้วยตัวเอง หาข้อดีข้อเสีย และเปิดรับฟีดแบ็กจากคนอื่น หรือเพื่อนร่วมงาน

จะสังเกตได้ว่า การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบนี้ กว่าที่จะได้เริ่ม Creative จริงๆ ก็ปาไปตั้งขั้นตอนที่ 4 เข้าไปแล้ว ซึ่งค่อนข้างจะขัดกับความเชื่อที่ว่า ความคิดสร้างสรรค์ นั้นเกิดขึ้นมาได้เอง ไม่มีแบบแผน ไม่ต้องการเวลา ไม่ต้องตั้งใจ ซึ่งความเชื่อที่ว่าไม่ได้ผิด แต่มีคำอธิบายเพิ่มเติม

Reactive VS Proactive Creativity Development

แล้วการเติมความรู้ในเรื่องอื่นๆ หรือการเพิ่ม Inspiration นั้นไปอยู่ที่ตรงไหน?

คำตอบก็คือเป็นสิ่งที่เราควรจะทำ ควรจะเติมมันอยู่เสมอในทุกวัน เพียงแต่ปัญหาของการหา Inspiration การเติมความรู้ในเรื่องทั่วๆ ไปนั้น มันเป็นแนวทางที่ค่อนข้างจะ Reactive หมายถึงว่า เราไม่รู้ว่าเราจะเอาสิ่งเหล่านั้นไปใช้ได้เมื่อไหร่ ในขณะที่การพัฒนาความรู้เฉพาะเรื่องในแนวทางด้านบนนั้นเป็นแนวทางที่ Proactive กว่า ซึ่งใช้เวลามากกว่า แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้เราสามารถประยุกต์ มองเห็นแนวทางในการคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่แตกต่างออกไป โดยที่ยังอยู่บนพื้นฐาน หลักการ และความเป็นจริง ที่สมเหตุสมผล

Rule about breaking the rules:
you must know what the rule is before you can break it.

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงการคิดวิเคราะห์ของผู้เขียนในการพยายามหาวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน ซึ่งก็หวังว่าบทความนี้จะพอเป็นประโยชน์ทั้งกับคนที่กำลังมองหาวิธีเพิ่มความคิดสร้างสรรค์อย่าง Proactive หรือกำลังหาแนวทางไปใช้ Coaching ทีมงานได้นะคะ :)

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

Save